Tuesday 16 June 2015

คำให้การในฐานะพยานของพ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรรัตน์กรณีการสลายการชุมนุมของทหารในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553


นี่คือคำให้การในฐานะพยานของพ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรรัตน์กรณีการสลายการชุมนุมของทหารในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554 คำให้การที่สำคัญคือมีการใช้กำลังเกินกว่าเหตุต่อผู้ชุมนุมในปี 2553 ในเอกสาร เราขีดทับข้อมูลส่วนตัวของพ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรรัตน์

พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรรัตน์ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี [ในปลายปี 2551] เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน (พปช.)

เขากล่าวว่าเขาเป็นผู้สนับสนุนนปช.และเข้าร่วมชุมนุม
เขากล่าวว่าเมื่อรัฐบาลสลายการชุมนุมนปช.ปี 2552 ผู้ชุมนุมได้ปิดแยกสามเหลี่ยมดินแดงและพบอาวุธสงครามจำนวนมากให้รถบรรทุของทหาร อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งที่พวกเขาพบอาวุธ พวกเขาก็จะส่งคืนให้ทางตำรวจ แสดงให้เห็นว่านปช. ชุมนุมอย่างสงบ มิได้มิเจตจำนงค์ที่จะใช้อาวุธเหล่านั้นต่อสู้กับทหาร
ในปี 2553 ผู้ชุมนุมนปช.ได้กลับมาชุมนุมอีกครั้งเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาและจัดการเลือกตั้งทั่วไป และการชุมนุมก็เป็นการชุมนุมที่สงบด้วยเช่นกัน


เมื่อถูกถามว่าเขาคิดว่าการสลายการชุมนุมของทหารนั้นถูกต้องตามหลักสากลหรือไม่ พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรรัตน์กล่าวว่าไม่ เพราะไม่มีการเจรจา และแม้การเจรจาล้มเหลว รัฐบาลจะต้องออกประกาศเตือน และใช้กระบอง รถน้ำ หรือกระสุนยางเพื่อสลายการชุมนุมหลังจากนั้น และจะต้องไม่มีการใช้กระสุน “จริง” อย่างเด็ดขาด แต่ในะระหว่างการสลายการชุมนุมในวันที่ 19 พฤษภาคมมีการใช้กระสุนจริง และเอกสารของศอฉ.ยังยืนยันโดยระบุว่าในระหว่างการสลายการชุมนุมในเดือนเมษายน/พฤษภาคม ทหารใช้กระสุนจริง 120,000 นัด และกระสุนซุ่มยิง 2,600 นัด ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 93 รายและบาดเจ็บ 2,000 ราย




Witness Statement of Police Lt-Col Wipot Apornrat Regarding Deaths at Wat Patum, May 2010

This is the witness statement of Police Lieutenant-Colonel Wipot Apornrat regarding the army crackdown on May 19, 2010. It is dated December 7, 2011. The central allegation is that disproportionate force was used against the protest in 2010. Personal details of Lt. Col. Wipot have been redacted by ourselves.

Lt-Col Wipot Apornrat was banned from political activities for five years [in late 2008] as he was an executive member of the People's Power Party (PPP).

He stated he was a UDD supporter and had also joined the protest.

He stated that when the government cracked down on the [previous] 2009 UDD protest, the protesters had blocked Din Daeng intersection and found many war weapons inside army trucks. However, every time they found such weapons3 they would return them to the police. This showed that the UDD protested peacefully - because even though they had seized weapons from the army, they had no intention of using them against the army.

In 2010, the UDD protesters returned and demanded that the government dissolve the parliament and hold a general election - this protest was also peaceful.

When asked whether he thought that the army’s crackdown was consistent with international standards or not Lt-Col Wipot Apornrat stated that it was not because there was no negotiation and even if those negotiations failed, the govt must then issue the warning, then use batons, water canon and/or rubber bullets to disperse the protesters - there must strictly be no use of “live” rounds. But during the crackdown on May 19th live round bullets were used. This is backed up by CRES’s own document which indicates that during the April/May 2010 crackdown, the army used 120,000 live round bullets and 2,600 sniper bullets which resulted in 93 deaths and 2,000 injuries.




Friday 5 June 2015

คำสั่งศาลกรณีสาเหตุการเสียชีวิตของด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ (อายุ 14 ปี)

การเสียชีวิตของด.ช.คุณากรทำให้ผู้นำพรรคประชาธิปัตย์นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและนายสุเทพ เทือกสุบรรณถูกแจ้งข้อหาฆ่าคนตายโดยเจตนา อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโดยเริ่มแรกคดีดังกล่าวจะถูกไต่สวนในศาลอาญา แต่กลับถูกส่งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพิจารณาหลังการทำรัฐประหารปี 2557 นี่คือการปฏิเสธความยุติธรรมตามธรรมชาติอย่างชัดแจ้งและไม่สามารถอธิบายได้
ข้อเท็จจริงในเอกสารของศาลระบุ
ด.ช.คุณากรเป็นเด็กกำพร้าที่อาศัยอยู่ที่สถานเด็กกำพร้าองค์การสงเคราะห์มุสลิมนานาชาติ ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง
นักข่าวซึ่งเป็นพยานในเหตุการณ์กล่าวว่าในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เวลาราว 23 นาฬิกา ได้พบเห็นด.ช.คุณากรวิ่งเล่นบริเวณบังเกอร์ทหารใต้สถานีรถไฟแอร์พอร์ตลิงค์แยกมักกะสัน [ถนนราชปรารภ]
หลังนั้นประมาณเที่ยงคืน นายสมร ไหมทองขับรถตู้บนถนนถนนราชปรารภมุ่งหน้าไปยังมักกะสันซึ่งเป็นพื้นที่ควบคุมโดยทหาร ทหารใช้โทรโข่งสั่งให้นายสมรขับรถออกไปจากพื้นที่แต่เขามิได้ทำเช่นนั้น ทหารจึงระดมยิงไปที่รถตู้หลายครั้ง นายสมรถูกยิงได้รับบาดเจ็บ และประชาชนอีก 2 รายคือนายพัน คำกองและด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ ถูกยิงเสียชีวิต
กระสุนในร่างของด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นกระสุนความเร็วสูงที่ใช้ในอาวุธสงครามอย่างปืนเอ็ม 16 และอาก้า ศาลตรวจสอบหลักฐานและสรุปว่ากลุ่มคนที่มีอาวุธปืนเอ็ม 16 หรืออาวุธใช้กับกระสุนความเร็วสูงอื่นในบริเวณนั้นมีเพียงทหารเท่านั้น ดังนั้น ศาลจึงสรุปว่าการเสียชีวิตของด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณเกิดจากกระสุนความเร็วสูงยิงมาจากทหาร






เอกสารลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.​ 2555 และลงลายมือโดยนายสรุพล โตศักดิ์และนางสาวอิสริยา ยงพาณิชย์

Court Ruling Into The Cause Of Death Of Kunakorn Srisuwan (aged 14)

The death of Kunakorn resulted in the prosecution for murder of Democrat Party's Abhisit Vejjajiva and Suthep Thuagsuban. However, despite the case initially being heard in the Criminal Court, since the 2014 military coup it has been moved to the National Anti Corruption Commission. This is inexplicable and a clear denial of natural justice.

A précis of the court document follows.
 

Kunakorn was a 14year old orphan who resided at the International Islamic Relief Organisation orphanage on Ramkanhaeng Road. 

A journalist who witnessed events  stated that on May 14, 2010 around 11pm they saw Kunakorn running around and playing near the army’s barricade under the airport link train station at Makkasan Junction [Ratchaprarop Rd].

Then, around midnight, Mr. Samorn Maithong drove his van on Ratchaprarop road heading towards Makkasan, an area that was controlled by the army. The authorities used a megaphone to order Mr. Samorn to drive his van out of the area but he failed to do so. The soldiers then opened fire on the van, firing many times and Mr. Samorn was shot and injured and two other people, Mr. Phan Kamklong and Kunakorn Srisuwan were shot and killed 


The bullet found in Kunakorn Srisuwan that killed him was a high velocity bullet of the type used by war weapons such as an M16 or AK47.  The court examined the evidence and concluded the only persons with M16s or other high velocity war weapons in that area were Thai Army soldiers. Therefore the court ruled that Kunakorn Srisuwan’s death was caused by a bullet fired by the Thai Army soldiers.
This document was dated December 20, 2012 and signed by Mr Suraphon Tosak & Ms Issariya Yongpanit.











Sunday 31 May 2015

2010 Wat Pathum Killings Witness Statement of Kittichai Kaengkan

คำให้การของพยานนายกิตติชัย แข็งขันในเหตุการ์สังหารหมู่วัดปทุมฯ ปี 2553

เอกสารนี้คือบันทึกคำให้การของพยานนายกิตติชัย แข็งขันอย่างเป็นทางการของกรมสอบสวนคดีพิเศษ พยานได้รับการว่าจ้างจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 1และอยู่ตรงข้ามวัดปทุมฯ กิตติชัยไม่ได้เพียงแค่เห็นกองทัพไทยยิงประชาชนที่วัดปทุมฯ เท่านั้น แต่เขายังถูกหทารยิงถึงสองครั้งด้วยกัน เอกสารฉบับนี้ลงวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553  และลงนามโดยบุคคลสองคน ได้แก่พนักงานอัยการภานุพงษ์ โชติสิน และพนักงานสอบสวนดีเอสไอ พ.ต.ท.ธรณินทร์ คลังทอง บันทึกคำให้การยังรวมถึงภาพถ่ายของสถานที่เกิดเหตุด้วย กิตติชัยคือพยานคนสำคัญและเป็นผู้พูดจาอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับเหตุการณ์สังหารหมู่ที่วัดปทุมฯ ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เขาเสียชีวิตลงอย่างกระทันหันและปราศจากคำอธิบายถึงสาเหตุการเสียชีวิตอย่างแท้จริง

ในบันทึกคำให้การ กิตติชัยกล่าวว่าเขาได้รับการว่าจ้างจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นเวลาสองอาทิตย์เพื่อให้มาเดินสายไฟ ในเที่ยงวันของวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เขาเดินทางไปพบเพื่อนของเขาซึ่งเป็นผู้ชุมนุมนปช.จากขอนแก่นและอาศัยอยู่ในวัดปทุมฯ ในเวลา 18 นาฬิกาของวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ระหว่างที่เขายืนอยู่หน้าวัดปทุมฯ เขาได้ยินเสียงปืนหลายครั้งดังมาจากรถไฟฟ้าบีทีเอส เขาจึงวิ่งเข้าไปในวัดและหลบอยู่ใต้ท้องรถยนตร์

เมื่อกิตติชัยถูกยิงที่หลังระหว่างที่หลบอยู่ใต้ท้องรถ เขาได้โบกมือออกมาจากใต้ท้องรถแต่กลับถูกยิงที่มืออีกครั้ง หลังจากนั้นเขาได้ยินเสียงตะโกนว่า “ออกมาจากใต้ท้องรถ ถ้าไม่ออกมาจะยิงให้ตายหมด”

เมื่อเขาคลานออกมาจากใต้ท้องรถ กิตติชัยเห็นทหารสองนายถือปืนยาวเล็งมาที่เขาอย่างชัดเจน เขากล่าวเพิ่มว่าทหารอยู่ห่างจากเขาเพียงแค่ 30-50 เมตร และในขณะนั้นยังมีแสงสว่างอยู่

กิตติชัยกล่าวว่าไม่มีผู้ชุมนุมคนใดในวัดปทุมฯ มีอาวุธ
 

This document is the transcript of an official Department of Special Investigation (DSI) witness statement as provided by Kittichai Kaengkan, a contractor employed at the Royal Thai Police’s HQ on Rama 1 Road, just opposite the Wat Pathum temple. Kittichai not only witnessed the Thai Army shooting at Wat Patum but was also shot twice himself. The document is dated October 20, 2010 and is signed by Kittichai and two other persons - the prosecutor, Panuphong Chotisin and DSI investigator, Police Lieutenant-Colonel Torranin Klangtong. As well as the transcript the document also includes a number of photographs at the crime scene. Kittichai was an outspoken and key witness regarding the killings at Wat Prathum. He died, suddenly and without real explanation, on October 1st 2012.

In his statement Kittichai says he was contracted by Police HQ to work for two weeks on the electricity system. At noon on May 19, 2010 he went to see his friends from Khon Kaen who were UDD protesters staying at Wat Pathum. At 18.00 May 19 2010 he was in front of the temple when he heard many gunshots coming from the BTS so he ran back into the temple and hid under a car.

Whilst Kittichai was under the car he was shot in the back, so he waved both hands but was shot again, this time being shot through his hand. He then heard shouting “get away from the car, otherwise I will shoot you all dead!”

When he crawled out from under the car, Kittichai clearly saw two armed soldiers on the BTS rail pointing rifles at him - he added those soldiers were only 30-50 metres away from him and there was still daylight.

Kittichai stated none of the protesters in the temple were armed.















Here are the photographs attached to the statement/นี่คือภาพถ่ายที่แนบมากับคำให้การ


After Kittichai heard gunshots he ran to this spot and hid under the car.




Kittichai points to the position where the Thai Army soldiers who pointed their rifles at him were.
  


This is the spot where he crawled out from under the car and shot.


This is the spot where Kittichai waved his hands to show he was unarmed and he was then shot in the hand.


After Kittichai was shot in the back and the hand he was ordered to stand by the soldiers and remove his shirt.

Kittichai points to the direction he ran after he was shot. He then sought help at the medical tent.

In the picture Kittichai points to the position of the medical tent, in the lower one he points to the spot where he collapsed.


Kittichai shows the scar on his hand from the bullet wound.


Another photo showing Kitticha's gunshot wound in his hand.

This photo shows Kittichai's gunshot wound in his back.

 


Friday 29 May 2015

Thai Army Small Arms Munitions Use During Bangkok Massacre 2010

กระสุนปืนที่กองทัพไทยใช้ระหว่างเหตุการณ์สังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ ปี 2553
(scroll down for English)

นี่คือเอกสารฉบับฉบับล่าสุดที่เราเผยแพร่อย่างต่อเนื่องในแคมเปญ Thailand Accountability Project (TAP) เราเชื่อว่าเอกสารทั้งหมดหรือบางฉบับนี้อาจถูกเผยแพร่มาก่อนแล้ว อย่างไรก็ตาม เราเผยแพร่เอกสารทั้งหมดนี้ในที่สาธารณะเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บเอกสาร

นี่คือรายการจำนวนกระสุนปืนอย่างเป็นทางการที่กองทัพไทยแจกจ่ายเพื่อการปฎิบัติการของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ซึ่งจัดตั้งโดยรัฐบาลนายกฯอภิสิทธิ์ระหว่างเหตุการณ์สังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ ในเดือนเมษายน/พฤษภาคม ปี 2553

เอกสารมลงนามในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553 โดยหน่วยงานสป. 5 ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบกระสุนปืนของกองทัพไทย

ในการเบิกจ่ายกระสุนทั้งหมด 597,500 นัดรวมถึงกระสุนเบอร์ขนาด 00, 5.56มม. x 45มม. ซึ่งใช้กับปืนไรเฟิลจู่โจมเอ็ม 16 และกระสุนจำนวน 3,000 นัดขนาด 7.62มม. X 51มม. สำหรับปืนไรเฟิลซุ่มยิง SSG3000

รายการระบุว่ามีการคืนกระสุนจำนวนกว่า 522,000 นัด ซึ่งหมายความว่ากระสุนจำนวนเกือบ 77,000 ถูกกองทัพไทยใช้ยิงในระหว่างการปฏิบัติการศอฉ.

ข้อมูลที่น่าตกใจที่สุดคือมีการคืนกระสุน  7.62มม. X 51มม. สำหรับปืนไรเฟิลซุ่มยิง SSG3000 จำนวน 880 นัดเท่านั้น นั้นหมายถึงว่าค่อนข้างจะเป็นที่แน่นอนว่ากระสุนพลซุ่มยิงจำนวน 2,120 นัดจาก 3,000 นัดถูกกองทัพใช้ยิงผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงในดือนเมษายน/พฤษภาคม ปี 2553


This is the latest document release for the Thai Accountability Project. We believe some or all of this document has been released before. However we wish to place its full contents in the public domain for archiving purposes.

Here is the official count of small-arms munitions as supplied by the Thai Army for its use during the Prime Minister Abhisit-sanctioned Centre for the Resolution of the Emergency Situation (CRES) operations during the April/May 2010 Bangkok Massacre.

It’s signed off by the SP5 munitions unit of the Thai Army, on 20 December 2010.

In total 597,500 small-arms munitions were issued in the form of 00 shotgun cartridges, standard 5.56mm x 45mm cartridges as used by M16 family of assault rifles, 3000 7.62mm X 51mm shells for SSG3000 sniper rifles.

The list then counts that just over 522,000 cartridges and shells were returned meaning that almost 77,000 shells and cartridges were fired by the Thai Army during the CRES operations.

The most shocking detail is that only 880 7.62mm X 51mm shells for the SSG3000 sniper rifle were returned after the CRES operation. This means that 2120 sniper rounds of the 3000 issued were almost certainly fired by the Thai Army at the Red Shirt protesters in April/May 2010. 




Wednesday 27 May 2015

Centre for the Resolution of the Emergency Situation (CRES) order, April 17, 2010

นี่คือเอกสารฉบับฉบับล่าสุดที่เราเผยแพร่อย่างต่อเนื่องในแคมเปญ Thailand Accountability Project (TAP) อย่างไรก็ตาม แม้เอกสารบางฉบับอาจถูกเผยแพร่มาก่อนหน้านี้แล้ว แต่เรามองว่าบทบาทของแคมเปญ TAP คือการจัดเก็บเอกสารในพื้นที่สาธารณะเพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้

นี่คือเอกสารคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) จัดทำในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2553 ลงนามโดยพลโทอักษรา เกิดผล

เอกสารนี้อ้างว่ามีผู้ก่อการร้ายติดอาวุธปะปนอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง และมีการอนุญาติให้ใช้พลแม่นปืนและพลซุ่มยิง

ทั้งยังมีการระบุกฎการใช้กำลังว่า

“ให้มีการยิงเตือนหากผู้ต้องสงสัยไม่ยอมให้ทำการตรวจค้น/จับกุม และกำลังะหลบหนี และเจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธ “ป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย” และไม่เกินกว่าเหตุได้ และหาก “ผู้ก่อเหตุซึ่งมีอาวุธใช้อาวุธต่อเจ้าหน้าที่” เจ้าหน้าจึงสามารถใช้อาวุธตอบโต้ได้ อย่างไรก็ตามหาก “ผู้กาอเหตุ” ปะปนอยู่ใน “ฝูงชน” เจ้าหน้ามิควรยิงข้าไปใน “ฝูงชน” เพราะอาจ “ทำอันตราย” ต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ ดังนั้นควรใช้ “พลแม่นปืน” แทน และหากยากต่อการจัดการกับ “ผู้ก่อเหตุ” เจ้าหน้าที่สามรถร้องขอใช้ “พลซุ่มยิง” จากศอฉ. ได้


Here is the latest document release in our ongoing Thailand Accountability Project (TAP). Some of these documents may already be in the public domain others may not. However, we view the role of TAP as archiving documents in the public domain for the Thai public to access.

This is the Centre for the Resolution of the Emergency Situation (CRES) order produced on April 17, 2010 and signed by Lt.Gen.Aksara Kerdphon.

The document claims there are armed terrorists among the Red Shirt protesters and allows the use of marksmen and snipers.

It also specifies the rules of engagement as being
 

 “Warning shots are allowed if the suspect refuses to be searched/arrested and is about to run away” and weapons can be used in a proportionate fashion “for lawful self-defence”. Also if an “armed perpetrator” is seen “using weapons against the authorities” then it’s permissible to use weapons against them. However if the “perpetrator” is in “a crowd” they should not shoot into the “crowd” as this could “harm” innocent people and therefore should use “marksmen” instead. If the “perpetrator” is harder to target they can also request a “sniper” to be used.